เปเปอร์ ป.โท

เมื่อวานนี้เป็นวันที่.. ในที่สุด Native Audio & Native Touch 2.0 ออกสู่ store เป็นที่เรียบร้อย หลังจากเวอร์ชั่น 1 เมื่อเมษายน

บทความที่ลงไว้ตั้งแต่ Native Audio & (iOS) Native Touch เวอร์ชั่นแรกออก

ความรู้สึกที่ได้สร้างของของตัวเอง
ถึง life goal ใหม่ ในที่สุดก็ทำสินค้าของตัวเองเสร็จเพิ่มอีก 2 อย่างแล้ว! เป็นโค้ดฝากขายออนไลน์กับทาง Unity…gametorrahod.com

เวอร์ชั่น 2.0.0 นี้ มาจากงานวิจัยโคตรแน่นที่นั่งคุ้ยเองเพราะ Google ไม่มีข้อมูลอะไรให้ทำตามเลย ก็เลยภูมิใจเป็นพิเศษ

หลักๆก็นี่

Android Native Audio Primer for Unity Developers
I will demystify the “black box” surrounding the Android audio system and analyze why Unity’s way of using it makes…gametorrahod.com

แล้วก็นี่

5argon/UnityiOSNativeAudio
This project confirms that the Unity's audio problem is not just audio latency, but also input latency. …github.com

มาถึงจุดนี้ ได้ช่วยชีวิตคนทำเกมให้เกมออกมาเล่นได้ จนกระทั้งได้มีชื่อในหน้า Credit บนเกมเขา

จนได้มือถือใหม่ฟรีๆจากเขาด้วยความสงสารว่า dev อะไรไม่มี Oreo ใช้

Discord ที่เคยร้าง ก็เกิดเป็น community เล็กๆที่เราได้มีโอกาสเป็นผู้สอน มีคนสนใจสิ่งเดียวกันมารวมตัวกันที่เรา แล้วได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน ไม่เคยแบบ มีใครมารับความรู้จากเราขนาดนี้

ก็เลยอดไม่ได้ที่จะเทียบกับตอนทำเปเปอร์ ป.โท อีกละ

จริงๆการทำเปเปอร์ ป.โท ตามนิยามก็ควรจะเป็นตามนั้น คือเป็นสิ่งใหม่ที่เราค้นพบขึ้นมา เป็นประโยชน์ต่อโลก แต่ความจริงที่ออกมา ที่จบโทมา ก็โกหกตัวเองไม่ได้ว่ามาจาก Google 80% แล้วเอามาปะติดปะต่อ ประกอบขึ้นมาเป็น “ของใหม่” ที่ก็ใหม่จริงแหละไม่งั้นไม่จบมาได้หรอก

แต่มัน… ไม่ได้ backed ด้วยการตั้งสมมติฐาน ด้วยการทดลองที่ค่อยๆคลานไปทีละขั้นเหมือนตอนนี้ เหมือนว่ามีแต่ โอ้ยบัคๆๆ ทำไมทำตามแล้วไม่ได้ หรือไม่ก็วัดผลแล้วไม่ออกมาอย่างที่อยากได้ (อย่างที่จะทำให้เรียนจบได้..) มีแต่ตะลุยอ่านเปเปอร์ตาม reference ไปเรื่อยๆแล้วพยายามหา “ช่องโหว่” ที่เราจะเข้าไปแทรกให้มันมีที่อยู่มีที่เรียนจบได้ แล้วก็ หัวข้อเปเปอร์ไม่ค่อยเป็นสิ่งที่แคร์ด้วยมั้งก็เลยไม่สนุก ไม่ epic

เปเปอร์เรานี้ก็ geared for เรียนจบเต็มที่ คือ เป็น AR Neural network ที่ลบรถออกจากถนนได้ ด้วยกล้องอันเดียว แต่ห้าม realtime นะเพราะ NN แล้วช้าเป็นวัน แล้วก็ต้องเป็นนี่ แต่ห้ามนี่ แล้วก็นี่.. คือ ถ้า constraint หายไปแม้แต่นิดเดียว มันจะซ้ำกับเปเปอร์อื่นแล้ว inferior กว่าทุกประการ เปเปอร์เราก็เลยกลายเป็นการค้นพบใหม่ของโลกที่ไม่มีประโยชน์ คือมันใหม่จริงๆครับ เพราะไม่มีใครในโลกที่ใช้กล้องตัวเดียว + inpainting + NN + ไม่ต้องสแกนสภาพแวดล้อมก่อน + ไม่ realtime + … เก็ทมั้ยครับ เหมือนกับ… ผมทำสูตรไข่เจียวช็อคโกแลต ใส่ใบโหรพา กินกับน้ำองุ่น Tipco ออกมาเป็นเปเปอร์ใหม่ ใหม่จริงๆ หรือทำงานวิจัยเรื่องใช้น้ำมันมะพร้าวเจียวและค้นพบเวลาเจียวต่ำที่สุดที่จะไม่ทำให้น้ำมันมะพร้าวที่ทนทานน้อยกว่าน้ำมันพืชปกติเสียประโยชน์ได้ ออกมาเป็นเปเปอร์ “An optimum Thai-style fried egg cooking time with low-calorie coconut oil” เป็นไง ใหม่มั้ยครับ

แล้วก็จบมาได้จริงเพราะเป็นไปตามกฏ แต่ลึกๆแล้ว… มัน empty inside อะ เราไม่ได้พัฒนาในฐานะมนุษย์เท่าไหร่เลย กระดาษที่ถืออยู่นี่ก็แค่ “ใบพยายาม” แต่ตัวเราเก่งเท่าเดิม ไม่ใช่ใบวัดความเก่งอะไรเลย ที่ชอบคือได้อยู่ญี่ปุ่น ได้เจอสังคมใหม่อารมณ์ใหม่ แต่ point สำคัญของงานวิจัยมีแค่ให้จบให้ทันเวลา กับจบได้ ย้อนนึกไป อยากให้งานวิจัยมันเป็น core theme ของการไปญี่ปุ่นกว่านี้ แต่ที่ผ่านมามันก็ไม่ใช่ไปแล้ว เอาน่ะ ได้กินเนื้อย่างจิ้มจุ่มกับเพื่อนนักทำเพลงตัวเป็นๆ อันนั้นอะฟินจริง

คนที่คิดค้นวิธีมัดถุงแกงให้ออกมาเป็นหูหิ้วได้ กับคนที่คิดวิธีหั่นหัวหอมแบบ diced ที่ตัดแบบเว้นรากให้มันยึดไว้ ก่อนที่เราจะหั่น array สุดท้ายออกมาเป็นหั่นฝอยอย่างสวยงาม ผมยังนับถืองานวิจัยเขาพวกนั้นมากกว่าสิ่งที่ผมทำมา 2 ปีตอนเรียนโทอีกครับ..

เรื่องที่เกิดขึ้นใน Discord ตอนนี้ ก็ชวนให้คิด parallel ไปถึงในวงการวิจัย เห็นเฮดแลปก็ไปเยี่ยมที่โน่นที่นี่ เชิญคนนั้นคนนี้มาบ้าง คงเหมือนกับ channel Discord ของเราตอนนี้ ที่เราได้แชร์ findings ของเราให้โลกรู้

แต่ลองคิดว่าถ้า Native Audio + Native Touch เป็นเปเปอร์ ป.โท มันก็คงไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่แบบ.. general knowledge ใหม่ของโลก มันก็ผูกกับ Unity ส่วนเรื่องเสียง Android ก็ผูกกับบริษัท Google แค่คิดก็รู้สึกว่าไม่ qualify ที่จะเป็นเปเปอร์ที่จบได้ มันเป็น applied knowledge หรือเป็น product?

ความที่ผมไม่ชอบสิ่งที่ “นับ” ว่าเป็นเปเปอร์ได้ ก็ตรงที่ว่าพอมันมารวมกับเวลาจำกัด มันค่อยๆ skew ให้สิ่งที่ค้นคว้าออกมากลายเป็นสิ่งที่แทบไม่มีประโยชน์ หรือ niche ยิ่งกว่า niche แต่ขอให้ new แม้เสี้ยวเดียว ก็กลายเป็นจบได้

ของๆผมที่เป็น applied product กับเปเปอร์ ป.โท ที่ใช้จบ ทั้งสองอย่างมี foundation เดียวกันคือ “research” ถึงจะออกมาได้ ผมก็เลยคิดว่าคนที่ไม่ได้เรื่องในระบบปริญญา จริงๆเขาอาจจะไม่ได้แย่ด้านการค้นคว้าก็ได้นะ

เวลาจำกัดที่ว่าไม่จำกัดก็ได้ถ้ามีทุนอยู่ต่ออะนะ แต่อยู่ต่อแล้วพ่อแม่จะคิดว่าเราเป็น the failure มากกว่าเราพยายามหาความรู้ต่อไปให้มันเต็มที่ (ความรู้สึกแบบ “ซ้ำชั้น”) ตอน 4 เดือนก่อนจบที่ยังไม่มีหัวข้อวิจัยก็เคยโทรบอกพ่อแม่แล้วว่ามีโอกาสไม่จบ แต่พ่อแม่ก็คิดว่าใครๆเขาก็จบกัน ถ้าลูกพยายามก็ทำได้อยู่แล้ว ก็ได้แหละแต่แค่ว่ายอมทำอะไรก็ไม่รู้แค่นั้นเอง

เพราะลึกๆแล้วมา ป.โท ก็มีความอยากทำสิ่งที่ดีๆออกมาติดตัวตลอดชีวิต ขณะที่พ่อแม่คิดว่ามา ป.โท เพื่อจบให้ได้ไม่ต้องแคร์ว่าจะทำอะไรเพื่อจบ เหมือนคิดเป็นด่านในเกม มาชนะด่านนี้เอารางวัลกลับมาให้ได้ ผมว่าการวิจัยมันไม่ใช่แบบนั้น ตอนช่วงสุดท้ายตอนนั้นนี่ เตรียมใจไว้แล้วจริงๆนะว่าอาจจะกลับไทยโดยไม่จบโทเพราะหัวข้อไม่โอเคซักที ที่ลองทำมา 3–4 หัวข้อก็ไม่ใช่ ถ้าทุนรัฐบาลมันให้ซ้ำโทต่อได้ อาจจะอยู่ต่อให้ได้เปเปอร์ดีจริงๆกลับบ้าน แต่พ่อแม่ไม่ค่อยโอเคกับไอเดียแบบนั้น

สุดท้าย negotiate กับเฮดแลปออกมาเป็น hybrid สิ่งที่อยากทำ (NN) กับตรงแลป (AR) ก็จบมาได้แบบ… แปลกๆ แต่แน่นอนพ่อแม่มองว่า เห็นมั้ย! พยายามแล้วก็ทำได้! ถ้าลูกยอมตั้งแต่ตอนนั้นนะ ฯลฯ สำหรับผมคิดว่าการที่มีสิ่งที่อยากทำครึ่งนึงมันก็ยังโอเคที่เราได้รู้เรื่องที่ไม่เคยรู้และอยากรู้ด้วย แต่ก็ไม่ใช่ best ending (แต่ก็ดีกว่ายอมกลับบ้านโดยไม่จบอยู่ก็จริง)

การเรียน ป.โท คือการฝึกทักษะการค้นคว้าไม่ใช่เหรอ ถ้าเป็นแบบนั้น ผมคิดว่า Native Audio + Native Touch 2.0.0 ที่ออกตอนนี้ ค่อนข้างมี spirit ในเรื่องนั้นสูงกว่าหลายเท่า เยอะกว่า “เปเปอร์ขยะ” ที่ผมทำออกมาเพื่อจบ ป.โท ในวั้นนั้นหลายเท่า ตอนผมทำเปเปอร์ที่ ป.โท มันควรจะรู้สึกแบบตอนนี้สิ ถึงจะเรียกว่าไปวิจัย

แต่ผมกลับได้เกียรติบัตรอย่างยิ่งใหญ่ มีงานพิธี มีพ่อแม่ที่อุตส่าห์บินมาจากไทยเพื่อมาร่วมงานทั้งๆที่ท่านก็ไม่รู้อะไรหรอกว่าเปเปอร์ผมมันทำเอาจบขนาดไหน (ถ้าไม่เรื่องมากเรื่องไม่อยากทำ AR คงจะเสร็จไวกว่า 3 เดือนสุดท้ายแบบนี้..)

หรือผมอาจจะเข้าผิด lab เองก็ไม่รู้นะ หรือผมอาจจะเรื่องมากอยากทำอะไรก็ไม่รู้มากไปหน่อยก็อาจจะใช่

คืนก่อนที่ปล่อย Native Audio + Native Touch มันไม่มีอะไรเลย มันเป็นแค่การคลิก 10–20 ครั้ง.. คลิก กริ๊ก แล้วมันก็ออกไป ผลรวมของสิ่งที่เราค้นคว้ามา ออกมาเป็น product เดียวใน Asset Store ที่จะแก้ปัญหา audio latency จาก Unity ได้ชิ้นแรกของโลกที่ได้สุดจริงๆ ไม่มีงานเลี้ยงและ recognition อะไร… แต่มี accomplishment มากๆ มากกว่าวันนั้นที่เดินเข้างานพิธีรับปริญญาบัตรหลายเท่า เรา went all out สุดๆ ทุกครั้งที่ยาวจนนอนเช้ารู้สึกได้ถึง adrenaline ทุกครั้งที่ลูกค้าทักมาว่าโน่นนี่ยังมีปัญหาอยู่ เราก็รีบไปร้านกาแฟด้วยความตื่นเต้นทันที ว่ามันต้องมีทางแก้สิ

ก็เลยแค่คิดเล่นๆว่า ตอนเรียน ป.โท มันควรจะเป็น environment ที่เราควรจะได้มีโอกาสได้รู้สึกอะไรระดับนี้สิ ไม่ใช่ struggle เพื่อจบอย่างเดียวแล้วเปเปอร์ที่ออกมาก็มี reference count 0 แบบตอนนี้ อยากให้เป็นแบบ ทำอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์จริง… แต่เป็นอะไรก็ได้จริงๆ มันคงจะน่าสนุกดี โลกนี้อาจจะมีนวัตกรรมเจ๋งๆจากเหล่านักล่าปริญญามากขึ้นอีกเยอะ… น่าจะ